การทำไร่นาสวนผสม
การเกษตรของไทยในอดีตเป็นการทำการเกษตรเพื่อยังชีพโดยอาศัยความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติจึงไม่ค่อยจะพบปัญหามากนัก แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร มีการใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอแก่การบริโภคของประชากรและเพื่อการส่งออกเป็นรายได้เข้าสู่ประเทศจึงทำให้การทำการเกษตรในปัจจุบันประสบปัญหามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดความสมดุลทางธรรมชาติ การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชรวมทั้งด้านการตลาดซึ่งนับวันจะแปรปรวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากปัญหาดังกล่าว การทำไร่นาสวนผสมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติและความไม่แน่นอนของราคาผลผลิตโดยการทำการเกษตรหลายๆอย่าง เพื่อเพิ่มระดับรายได้ สามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นาได้มากขึ้น สร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติทำให้ระบบนิเวศเกษตรของชุมชนดีขึ้น เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและมีความมั่นคงในการที่จะประกอบอาชีพการเกษตรต่อไปเป็นการทำกิจกรรมการเกษตรหลาย ๆ อย่าง (?ตั้งแต่?2?อย่าง?)?เพื่อตอบสนองต่อการบริโภคและลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิต และภัยธรรมชาติ ซึ่งกิจกรรมการเกษตรไม่จำเป็นต้องเกื้อกูลกันเช่น การเลี้ยงไก่ สุกร ร่วมกับการปลูกพืช การปลูกโกโก้แซมในสวนมะพร้าว ?การเลี้ยงปลาในร่องสวนไม้ผลหรือสวนผัก ?หรืออาจจะมีการเกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรมการผลิต โดยนำเศษเหลือของกิจกรรมหนึ่งไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับอีกกิจกรรมหนึ่งเช่น เศษพืชผักเป็นอาหารสุกร มูลสุกรเป็นอาหารปลา น้ำจากบ่อปลานำไปรดพืชผัก เป็นต้น ลักษณะการทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างเช่นนี้เกษตรกรจะมีรายได้จากผลผลิตหลาย ๆ อย่าง มีการกระจายการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งปี มีความรักและผูกพันกับไร่นา มีความภาคภูมิใจในผลงานและผลผลิตของตนเอง ไม่อยากทิ้งไร่นาไปที่อื่น เกษตรกรมีรายได้ตลอดปีและลดค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้ออาหารเช่น ผัก ผลไม้ และแหล่งอาหารโปรตีนเช่น ปลา ไก่ เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการทำไร่นาสวนผสม
1.เพื่อเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือนของเกษตรกรอย่างต่อเนื่องจากกิจกรรมการปลูกพืชหลายครั้งหลายชนิด หรือจากการผสมผสานกิจกรรมทั้งพืช สัตว์ ประมง
2.?เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรที่ดินทุน แรงงาน อย่างประสิทธิภาพ
3.เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินกิจกรรมการเกษตรจากภัยธรรมชาติและความผันผวนของราคาผลผลิตเพื่อให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจเลือกกิจกรรมการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
4.เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรประกอบอาชีพตามวิชาการเกษตรแผนใหม่ทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย โดยยึดหลักปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย มีรายได้ต่อเนื่องและกำไรสูงสุด
5.เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักวางแผนและงบประมาณการผลิตรวมทั้งจดบันทึกและทำบัญชีไร่นา