โรครากเน่าโคนเน่า จัดเป็นโรคที่พบกันมากในสวนพืช ผัก ผลไม้ ของชาวไร่ ชาวสวน ไม่ว่าจะเป็น เงาะ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด พริก มะเขือ มะนาว แตงกวา ลำไย ปาล์ม ยางพารา ฯลฯ ซึ่งนำมาซึ่งความสูญเสียรายได้และผลผลิตของเกษตรเป็นอย่างมาก เพราะจัดว่าเป็นโรคที่ทำให้พืชนั้นขาดสารอาหารเพราะระบบรากถูกทำลาย เน่า ถอดปลอก และอาจจะติดเชื้อแบคทีเรียลุกลามเข้าไปในท่อน้ำท่ออาหารจนบางครั้งพืชบางชนิดก็ตายได้อย่างฉับพลันทันทีทั้ง ๆ ที่ความเขียวยังคงอยู่ จนชาวบ้านบางแห่งที่พบโรคนี้ต่างเรียกกันว่า ?โรคเหี่ยวเขียว? ซึ่งสาเหตุจริง ๆ อาจจะไม่เกี่ยวกับเชื้อราโรคพืชที่ก่อให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าแต่ก็ถือว่าเป็นเหตุที่ต่อเนื่องกันได้
สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟท้อฟเธอร่า(Phytophthora) เชื้อรากลุ่มนี้ ปกติจะอาศัยอยู่ในดินอยู่แล้ว เวลาที่ต้นพืชที่ปลูกอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันโรค เชื้อราไฟท้อฟเธอร่าก็จะเข้ามาทำลายทันที สังเกตว่าหากพืชชนิดนั้น เป็นโรครากเน่าโคนเน่า จะไม่พบการระบาดทั่วทั้งแปลง แต่จะพบบางต้นเท่านั้นที่เป็นโรค และจากนั้นจึงค่อยๆลุกลามไปยังต้นข้างเคียง แสดงให้เห็นว่า เชื้อราไฟท้อฟเธอร่า จะเข้าทำลายต้นที่อ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่ำสุดก่อน แต่ถ้าดูแลให้พืชแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่ตลอดเวลาแล้ว อัตราการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าก็จะลดต่ำลงตามไปด้วย
วิธีแก้โคนเน่า-รากเน่า วัสดุ-อุปกรณ์ : 1. ใช้ขี้วัว จำนวน 5 กก. 2. รำละเอียด จำนวน 2 กก 3. พ.ด.3 จำนวน 1 ซอง (ติดต่อขอรับได้ที่กรมพัฒนา
ที่ดิน) 4. น้ำเปล่า จำนวน 5 ลิตร 5. ถุงพลาสติกหรือกระสอบ 6. ปุ๋ยหมัก
คุณสมบัติของสารเร่ง พด.3 ป้องกันและควบคุมการเจริญขอ
งเชื้อสาเหตุโรคพืชเศรษฐกิจ
หลายชนิด ได้แก่ โรครากและโคนเน่าของไม้ผลแล
ะไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน ส้ม และยางพารา เป็นต้น โรคเน่าคอดินและลำต้นเน่าขอ
งพืชไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด ข้าวโพด พืชเส้นใยและพืชตระกูลถั่ว โรคเน่าและเหี่ยวของพืชผักแ
ละไม้ดอกไม้ประดับ เช่น พริก มะเขือเทศ แตง กะหล่ำปลี เบญจมาศ และมะลิ เป็นต้น ช่วยแปรสภาพแร่ธาตุในดินให้
อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่
อพืช เจริญได้ดีในดินที่มีอินทรี
ย์วัตถุสูงและมีความเป็นกรด
เป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.5 – 6.5
วิธีทำจุลินทรีย์ควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่า : ใช้ขี้วัว 5 กก.ผสมกับรำละเอียด 2 กก. ใส่ในถุงพลาสติกคลุกเคล้าให
้เข้ากัน จากนั้นละลาย พ.ด.3 (1 ซอง) ในน้ำ 5 ลิตร คนนาน 5 นาที แล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่ว
นผสมวัสดุให้ได้ความชื้น 60% รัดปากถุงไว้ ตั้งทิ้งไว้บนพื้นปูน ไม่ให้ถูกแดดและฝนนาน 7-10 วัน จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ นำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บใส่ถุงมัดปากใส่ถังพลาส
ติกเก็บไว้ใช้
การนำหัวเชื้อไปใช้งาน : ใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้ 2 ขีด ต่อการขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก 100 กก. นำไปใส่โคนต้นไม้ จะช่วยป้องกันโรครากเน่าโคน
เน่าของพืชได้ ที่มา :ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร
?*1677