ยางพารา

Share Button

เทคนิคการการปลูกยางพาราเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้
ปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็วเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น และรักษาสมดุลของธาตุอาหารในดิน ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ ยังใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้ต้นยางเปิดกรีดช้าและให้ผลผลิตไม่เต็มที่ มีผลทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ดังนั้นในภาวะที่ปุ๋ยเคมีมีราคาแพง แต่ยางพาราจำเป็นต้องใช้ เกษตรกรจึงควรใช้ปุ๋ยอย่างคุ้มค่าด้วยการ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ใส่ให้ถูกวิธี และใส่ปุ๋ยตามปริมาณธาตุอาหารที่ยางพาราต้องการและเหมาะสมกับดินเพื่อไม่ให้ใส่ปุ๋ยมากเกินไปหรือน้อยเกินไป และการที่เกษตรกรได้ผลผลิตไม่เต็มที่ ก็เนื่องจากเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจหลักการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ เพราะหากเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจหลักการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลให้ต้นยางได้นำธาตุอาหารในปุ๋ยไปใช้อย่างคุ้มค่า ช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และลดต้นทุนการผลิตหลักการก็คือ ก่อนที่จะใช้ปุ๋ย เกษตรกรควรต้องทำความรู้จักกับสิ่งสำคัญ 3 ประการเสียก่อน นั่นก็คือ ต้องรู้จักดินและพืชที่ปลูก ต้องรู้จักปุ๋ย และต้องรู้จักวิธีการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตยางให้สูงขึ้น ดังต่อไปนี้

รู้จักดินและพืช ที่ปลูก เนื่องจากดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารพืชเพื่อการเจริญเติบโตและเพิ่ม
ผลผลิต เมื่อมีการนำผลผลิตออกไปจากดิน ย่อมหมายถึงดินได้สูญเสียธาตุอาหารไปส่วนหนึ่ง ยิ่งมีการปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน การสูญเสียธาตุอาหารออกไปจากดินก็ยิ่งมากขึ้น เกิดการชะล้างธาตุอาหารในดินจากการถูกน้ำฝนชะล้าง ขาดการปรับปรุงดิน ทำให้ดินมีสภาพเสื่อมโทรม ธาตุอาหารในดินลดลง ดินที่เคยโปร่งร่วนซุยก็แน่นทึบ กลายเป็นดินเลว ทำให้ประสิทธิภาพต่ำ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยางพาราและการให้ผลผลิต ดังนั้น เมื่อรู้จักสภาพดินก็จำเป็นต้องแก้ไข ปรับปรุงดินเพื่อให้สามารถผลิตยางพาราได้
?รู้จักพืชที่ปลูกด้วย โดยเฉพาะยางพาราเป็นพืชที่ให้ผลผลิตในรูปของน้ำยาง ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
กับการสร้างน้ำยางคือ การสังเคราะห์แสง การสังเคราะห์น้ำยาง และปริมาณธาตุอาหารที่สะสมในลำต้น ในกระบวนการสังเคราะห์น้ำยางนั้น ยางพาราต้องสังเคราะห์แสงโดยอาศัยแสงแดดในตอนกลางวันเพื่อสะสมแป้งและน้ำตาล ไว้ใช้ในตอนกลางคืนเพื่อการสร้างน้ำยาง ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำและธาตุอาหารพืช ยางพาราต้องการไนโตรเจนและโพแทสเซียมในสัดส่วนที่สูงกว่าฟอสฟอรัส และยังต้องการแมกนีเซียมและแคลเซียมด้วย
รู้จักปุ๋ย ปุ๋ย หมายถึง สารที่ใส่ลงในดินเพื่อให้ปลดปล่อยธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะธาตุ
ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ให้พืชได้รับอย่างเพียงพอ สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยางพารายังจำเป็นต้องได้รับธาตุอาหารรอง (ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์) และจุลธาตุด้วย (ได้แก่ เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง และโมลิบดีนัม) ซึ่งมีอยู่ในปุ๋ยไซโต อีกทั้งยังช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย ไม่แน่นทึบ ช่วยอุ้มน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้รากยางดูดน้ำและธาตุอาหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพ เกษตรกรควรใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมบางเป็นครั้งคราว ( โดยใช้ปุ๋ยไซโต 1 กระสอบ / 1 ไร่ และปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จำนวน 1 กระสอบใส่ได้ 10 ไร่) โดยใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ดินร่วนซุยและเพิ่มประสิทธิภาพให้ยางพาราดูดธาตุ อาหารจากปุ๋ยเคมีได้มากขึ้นด้วย โดยสถาบันวิจัยยางแนะนำเกษตรกรใส่ปุ๋ยอินทรีย์กับยางพาราทั้งก่อนเปิดกรีด และหลังเปิดกรีดในดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ โดยเฉพาะสวนยางในเขตปลูกยางใหม่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อ เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ช่วยอุ้มความชื้นและปรับปรุงโครงสร้างของดิน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ และหากเกษตรกรรู้จักวิธีการใช้ปุ๋ย ก็จะทำให้ต้นยางดูดธาตุอาหารไปใช้อย่างคุ้มค่า ไม่สูญเสียปุ๋ย