ใส้เดือนมีประโยชน์ แต่อย่าใช้สารเคมีนะครับ

June 13, 2015 No Comments »
ใส้เดือนมีประโยชน์ แต่อย่าใช้สารเคมีนะครับ
Share Button

ใส้เดือนมีประโยชน์ แต่อย่าใช้สารเคมีนะครับ

ไส้เดือนดิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ไส้เดือน (อังกฤษ: Earthworm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแอนเนลิดา ในอันดับย่อย Lumbricina มีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดิน ใต้กองใบไม้ หรือใต้มูลสัตว์[1] เป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน แต่มีการสืบพันธุ์แบบทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
ปัจจุบันพบทั่วโลกประมาณ 4,400 ชนิด โดยแบ่งออกได้ตามลักษณะแหล่งที่อยู่อาศัย
1.กลุ่มอาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
2.กลุ่มอาศัยในดินชั้นบน ที่มีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร
3.กลุ่มอาศัยในดินชั้นล่าง ที่มีความลึกประมาณ 2-3 เมตร
ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการย่อยอินทรียสารในดิน และการเคลื่อนที่ในดินของไส้เดือน ถือเป็นการพรวนดิน ทำให้ดินมีช่องว่างที่จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการปลูกพืช อีกทั้งยังใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากไส้เดือนอีกด้วย และนอกจากนี้แล้ว ไส้เดือนยังเป็นที่นิยมอย่างยาวนาน ใช้เป็นเหยื่อสำหรับตกปลา
ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนเป็นอาชีพ และมีการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับไส้เดือนให้มากและกว้างขึ้น
ไส้เดือนชนิดที่มีความยาวที่สุดในโลก ได้ถูกบันทึกไว้โดยหนังสือกินเนส คือ ไส้เดือนยักษ์แอฟริกา จัดเป็นไส้เดือนที่อาศัยอยู่ในดินที่ลึก มีความยาวสูงสุด 6.7 เมตร ??ไส้เดือน ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ?รากดิน”
บทบาทด้านที่เป็นประโยชน์ของไส้เดือนดิน
1.ช่วยพลิกกลับดิน นำดินด้านล่างขึ้นมาด้านบนโดยการกินดินที่มีแร่ธาตุบริเวณด้านล่างและถ่ายมูลบริเวณผิวดินด้านบน ช่วยให้เกิดการผสมคลุกเคล้าแร่ธาตุในดิน นำแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในชั้นใต้ดินขึ้นมาด้านบนให้พืชดูดนำไปใช้ได้
2.ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน ซากพืช ซากสัตว์ และอินทรียวัตถุต่างๆ ทำให้ธาตุต่างๆ อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไนโตรเจน ในรูปแอมโมเนียและไนเตรท และอีกกลายชนิด รวมทั้งสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชและวิตามินจะถูกปลอดปล่อยออกมาด้วย
3.ช่วยเพิ่มและแพร่กระจายจุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์ต่อพืช เช่น ไรโซเบียม ไมคอร์ไรซา ในบริเวณรากพืช
4.การชอนไชของไส้เดือนดิน ทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทน้ำและอากาศดี ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เพิ่มช่องว่างในดินทำให้รากพืชชอนไชได้ดี
แนวทางการนำไส้เดือนดินมาใช้ประโยชน์
1) นำมาย่อยสลายขยะอินทรีย์และเศษอาหารจากบ้านเรือนเพื่อผลิต ปุ๋ยหมักมูล ไส้เดือนดิน นำมาใช้ในการ เกษตรลด ต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี
2) นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีปริมาณเปอร์เซ็นต์โปรตีนที่สูงมากช่วยลดค่าใช้จ่ายในค่า อาหารสัตว์
3) ใช้ฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมเช่นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเหมืองแร่เก่า
4) ใช้เป็นดัชนีทางสิ่งแวดล้อมในการตรวจสอบธาตุโลหะหนักและสารเคมีที่ปนเปื้อน จากการเกษตรในดิน
5) ใช้เป็นอาหาร ยาบำบัดโรค ยาบำรุงทางเพศ หรือใช้เป็นวัตถุดิบในวงการเภสัชกรรม และเครื่องสำอาง
6) ใช้เป็นดัชนีทางสิ่งแวดล้อมในการตรวจสอบธาตุโลหะหนัก และการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในดิน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ไส้เดือนชอบดินชื้น มีใบไม้และเศษซากพืช ซากสัตว์
1. อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 12-25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้ไส้เดือนอาจยังมีชีวิตอยู่ แต่จะไม่สืบพันธุ์และไม่ขยายจำนวน ถ้าต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ไส้เดือนจะตาย ถ้าสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ไส้เดือนจะตายเช่นเดียวกัน
2. ภาชนะที่ใช้เลี้ยงไส้เดือน ควรวางไว้ในที่ ๆ อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงมาก ไม่ควรโดนแสงแดงโดยตรง ให้วางไว้ใต้ร่มไม้ หรือใต้ชายคา
3. ระบายอากาศได้ดี
4. มีอาหาร เศษซากพืช ซากสัตว์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์
5. ความเป็นกรด ? ด่าง อยู่ระหว่าง 5-8 แต่ความเหมาะสมอยู่ที่ 7
ภาชนะที่ใช้เลี้ยง ??ไส้เดือนจะเลื้อยมากินอาหารบนผิวดิน ภาชนะที่ใช้เลี้ยงจึงควรมีพื้นผิวกว้าง มีก้นปิด สามารถเคลื่อนย้ายได้ วัสดุมีความชุ่มชื้น ไม่แห้ง ระบายน้ำได้ดี ไม่เปียกแฉะ ไม่มีน้ำขัง
ถังพลาสติก
กระบะไม้
กระบะพลาสติก
บ่อซีเมนต์
ขนาดของภาชนะกับปริมาณไส้เดือน
จำนวนคนในบ้าน ปริมาณไส้เดือน(น้ำหนัก) ขนาดของภาชนะ
1-2 คน 500 ก. 60x60x30 ซม.
2-3 คน 1 ก.ก. 75x60x30 ซม.
4-6 คน 1.5 ก.ก. 90x60x30 ซม.
การหมักปุ๋ยด้วยไส้เดือนในถังพลาสติก
แบ่งถังออก 3 ส่วน
ส่วนล่างสุดจะรองรับน้ำ
ส่วนที่ 2 ที่อยู่อาศัย
ส่วนที่ 3 เป็นอาหาร
ส่วนล่างสุด ใส่ก้อนหินบริเวณก้นถัง เฉลี่ยสูง 15 ซม. ตัดแผ่นไม้เป็นวงกลม เจาะรู วางทับบนก้อนหิน
ส่วนที่สอง ที่อยู่อาศัย วางไส้เดือนลงบนแผ่นไม้ ประมาณ 50-10 ตัว ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ หนา 15-30 ซม. โรยปิดทับด้วย ดินแห้ง หนาประมาณ 1 นิ้ว
ส่วนที่สาม ใส่เศษพืชผัก ใบไม้ เศษฟาง หรือแม้แต่เศษวัชพืช ควรสูงประมาณ 3 นิ้ว ใช้ฝาปิด หากไม่มีฝา ใช้ฟางข้าว หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ปิด
การให้อาหารไส้เดือน ??ควรให้ที่ละน้อย แต่ให้บ่อย ๆ ครั้ง เพราะให้มากไส้เดือนจะกินไม่ทัน อาหารจะเน่ากลิ่นเหม็น นอกจากนี้จะทำให้เกิดความร้อนสูงจากการหมัก ทำให้ไส้เดือนตายได้ โดยปกติถ้ามีปริมาณไส้เดือนมากพอ จะกินอาหารหมดภายใน 2-3 วัน และเศษอาหารควรสับเป็นชิ้นเล็กๆ จะถูกย่อยเร็วขึ้น
/อาหารเลี้ยงไส้เดือนได้/
เปลือกผัก เศษผัก เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ เศษอาหารที่ปรุงแล้ว เศษหนังสือพิมพ์ กากกาแฟ ใบชา เปลือกหอม
/เลี้ยงไม่ได้/
เปลือกส้ม ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อ / ปลา ขี้หมา / ขี้แมว ดอกไม้(ปนเปื้อนสารเคมี) พลาสติก แก้ว กระป๋อง
ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยน้ำไส้เดือน
หลังให้อาหาร 2-3 เดือน ไส้เดือนจะเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และพวกอาหารก็จะเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมัก สีดำ มีฮิวมัสมากมีคุณค่าทางอาหารสูงและหากปริมาณมากพอโกยเอาเศษอาหารด้านบนที่ยังไม่ได้กินหรือกินไม่หมดออก แล้วตักเอาปุ๋ยหมักไส้เดือนออกจากถัง แล้วเทลงบนพื้นปลูกเพื่อแยกไส้เดือน
วิธีแยก 1. วิธีเขี่ยแยกปุ๋ยกับไส้เดือน โดยแยกไปเรื่อย ๆ เริ่มจากด้านนอกก่อน
ไส้เดือนจะหนีเข้าข้างในกองปุ๋ย
2. เทปุ๋ยบนพื้นที่มีแสงแดด หนาประมาณ 5 ซม. แล้วเอาหนังสือพรมน้ำ
ปิดบังแสงไว้ครึ่งหนึ่ง ไส้เดือนจะหนีแสงมาอยู่ด้านไม่มีแสง ทำไปเรื่อย ๆ
จนหมด เหลือเฉพาะไส้เดือน
ปุ๋ยน้ำ ที่ได้จะอยู่ด้านล่างของถัง จะเป็นปุ๋ยอย่างดี ผสมน้ำ 1 : 10 ใช้รดพืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ ควรจะมีก๊อกน้ำก้นถัง เพื่อเอาปุ๋ยน้ำ การหมักปุ๋ยหมักด้วยไส้เดือนในแปลงดิน พิจารณาแปลงดินที่มีไส้เดือน แต่หากมีน้อยก็ควรเติมไส้เดือน โรยเศษผักสด เศษหญ้า เศษใบไม้ เศษฟาง ด้านบนแปลง โรยทับด้วยดินร่วน
ปิดทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ให้ทั่วแปลง (ช่วยเก็บความชื้นและป้องกันวัชพืช)ไส้เดือนจะเลื้อยกินอาหาร 2-3 สัปดาห์ ก็จะกลายเป็นปุ๋ยและสามารถนำกล้าไม้มาปลูกในแปลงได้เลย
ขอขอบคุณข้อมูล: ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง

Leave A Response